STECON GROUP และกลุ่มบริษัท ซิโน-ไทย ร่วมทำงานกับชุมชน สังคม ไปพร้อมกับรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
นายภาคภูมิ ศรีชำนิ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม / กรรมการผู้จัดการใหญ่
อ่านเพิ่มเติม

แนวคิดและนโยบายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

บริษัท สเตคอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ดำเนินธุรกิจโดยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างคุณค่าในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บริษัทบรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจ บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่คำนึงถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดี สังคม สิ่งแวดล้อม ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตามแนวทางสากลและตามที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้

นโยบายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
ด้านเศรษฐกิจ
เป้าหมายในเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญของบริษัท คือการสร้างผลตอบแทนหรือกำไรในการดำเนินงานที่เหมาะสมและต่อเนื่อง โดยสร้างความเติบโตในธุรกิจเดิม และ แสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ (New Business)
ด้านกำกับดูแลกิจการที่ดี
บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ตามหลักจริยธรรมคุณธรรม และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม การพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบริษัท มุ่งมั่นสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคงผ่านนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดไว้
ด้านสังคม
บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม มีมาตรฐานการทำงานในระดับสากลที่ลดผลกระทบที่ อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย เช่น พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และชุมชนนอกจากนั้น แล้วบริษัทยังให้ความสำคัญต่อความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน การพัฒนาบุคลากร และการช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา บรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัย เป็นต้น
ด้านสิ่งแวดล้อม
บริษัทตระหนักถึงการดำเนินงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บริษัทได้กำหนด นโยบาย แนวปฏิบัติ การติดตามผลและการพัฒนา ในด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มีการให้ความรู้และการฝึกอบรมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานการทำงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสนับสนุนและส่งเสริมแนวทางการรักษาสิ่งแวดล้อมและการลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการก่อสร้างของบริษัท

เป้าหมายหลักด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

บริษัท สเตคอน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กำหนดเป้าหมายหลักด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยังยืน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนของบริษัท ดังนี้

เป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายของประเทศด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 20-25 เมื่อเทียบกับการดำเนินงานในกรณีปกติ และมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593
เป้าหมายด้านความปลอดภัย
จำนวนผู้ปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นหยุดงาน 0 ราย / 1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน ( Lost Time Injuries Frequency Rate : LTIFR = 0 )
เป้าหมายด้านการพัฒนาบุคลากร
การพัฒนาความรู้และทักษะของบุคลากร ผ่านการสัมมนาและอบรมเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง/คน/ปี
เป้าหมายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี
บริษัทได้รับการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการ ในระดับดีเลิศ จากโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ
มิติการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเศรษฐกิจ
เป้าหมายในเชิงเศรษฐกิจที่สำคัญของบริษัท คือการสร้างผลตอบแทนหรือกำไรในการดำเนินงานที่เหมาะสมและต่อเนื่อง โดยการดำเนินธุรกิจเป็นไปตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ
มิติสังคม
บริษัทดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมมีมาตรฐานการทำงานที่ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคมโดยรวม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน คู่ค้า ลูกค้าและชุมชนใน บริเวณก่อสร้าง นอกจากนั้นแล้วบริษัทยังให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ
การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ
มิติสิ่งแวดล้อม
บริษัทตระหนักถึงการดำเนินงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม บริษัทได้กำหนด นโยบาย แนวปฏิบัติการติดตามผล และการพัฒนาในเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด

กลยุทธ์สู่ความยั่งยืน

1

บริษัทกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยกำหนดให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี

2

การพัฒนากระบวนการทำงานและการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การควบคุมต้นทุน ลดผลกระทบจากการดำเนินงาน และเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

3

การส่งเสริมวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมในองค์กร เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้แก่บุคลากร เปิดโอกาสทางความคิดในการนำเสนอ สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี โปรแกรมซอฟต์แวร์ หรือวิธีการทำงาน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มด้านความยั่งยืน

4

การคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดในการดำเนินงาน โดยจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล เพื่อความปลอดภัยของพนักงานและชุมชน

5

การพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินธุรกิจ ความสามารถในการทำกำไร และความสามารถในการแข่งขันของบริษัท

6

การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน และ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว

7

การจัดให้มีแนวทางชุมชนสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ความรู้ความเข้าใจระหว่างบริษัทและชุมชน/สังคม พร้อมเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินธุรกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่น

8

บริษัทจัดให้มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดความไม่แน่นอนทางธุรกิจ และเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งส่งเสริมการเติบโตของบริษัทอย่างมั่นคงและยั่งยืน

แนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

เพื่อให้การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทได้พิจารณาห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียหลากหลายกลุ่ม โดยบริษัทได้ดำเนินการวิเคราะห์ประเด็นความคาดหวังที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญ และนำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมามากำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนและแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท

ห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
การระบุและประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ
การดำเนินงานด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนกับการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs

รางวัลและการรับรองการดำเนินงานด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

เพื่อให้การพัฒนาแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมีประสิทธิภาพ บริษัทได้ทำการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจของตน ซึ่งครอบคลุมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย บริษัทได้วิเคราะห์ความคาดหวังหลักที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญ และนำผลการวิเคราะห์นั้นมาใช้ในการระบุประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ รวมถึงจัดตั้งกลยุทธ์และกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัท

SET ESG Ratings ประจำปี 2567 : Rating AA
SET ESG Ratings ประจำปี 2567 : Rating AA
CGR ระดับ ดีเลิศ
CGR ระดับ ดีเลิศ
ใบรับรองมาตรฐาน ISO45001 : 2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ใบรับรองมาตรฐาน ISO45001 : 2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ใบรับรองมาตราฐานคุณภาพ ISO9001 Version 2000 สำหรับงานประกอบและติดตั้งท่ออุตสาหกรรม และงานโครงสร้างเหล็ก
ใบรับรองมาตราฐานคุณภาพ ISO9001 Version 2000 สำหรับงานประกอบและติดตั้งท่ออุตสาหกรรม และงานโครงสร้างเหล็ก
ISO 45001:2018 Construction of Building, Power Plant, Industrial Plant, and  Petrol Chemical Plant
ISO 45001:2018 Construction of Building, Power Plant, Industrial Plant, and Petrol Chemical Plant
Wisdom - TGO
Wisdom - TGO
SNT - TGO
SNT - TGO